5 เมืองที่มีโอกาสจมน้ำก่อนปี 2100
อุณหภูมิโลกพุ่งสูง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นตามไปด้วย
ส่งผลให้เมืองชายฝั่งหลายเมืองทั่วโลกแห่งเริ่มเผชิญกับน้ำท่วมบ่อยครั้งขึ้น แม้จะดูเป็นส่วนเล็กๆ
ในแผนที่รวมแล้วไม่เกิน 10% แต่เมืองที่ใกล้ฝั่งเหล่านี้มีประชากรอยู่หนาแน่นสูง
อาจะมีประชากรรวมแล้ว 40% เลยทีเดียว
หากสถานการณ์ยังคงเป็นอยู่แบบนี้ หลายเมือง 5 เมืองต่อไปนี้อาจจะจมอยู่ใต้น้ำภายในเพียง
ปี 2100 เท่านั้น
1.จาการ์ตา,อินโนนีเซีย

พื้นดินในจาการ์ตา เมืองหลวงประเทศอินโดนีเซีย แห่งนี้จมน้ำไปถึง
6.7 นิ้วต่อปี
เป็นหนึ่งในเมืองที่อัตราการจมน้ำเร็วที่สุดในโลก
พื้นที่ส่วนใหญ่มีโอกาสอยู่ใต้น้ำในก่อน ปี 2050 นอกจากเป็นเมืองชายฝั่งแล้วยังประสบปัญหาการใช้น้ำบาดาลเกิดขนาด
จนทำให้เกิดดินทรุดด้วย
ล่าสุดทางรัฐบาลอินโดเนเซีย ได้ประกาศแผนย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา
ไปยังจังหวัดกาลิมันตันหรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือเกาะบอร์เนียว
สาเหตุนึงก็มาจากป้องกันน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นบ่อยในเมืองแห่งนี้
2.ลากอส,ไนจิเรีย

เมืองใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ของทวีปแอฟริกา อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประสบปัญหาน้ำเซาะแผ่นดิน
และระดับน้ำทะเลสูง จากปัญหาภาวะโลกร้อน งานศึกษาในปี 2012 พบหากน้ำทะเลสูงขึ้นเฉลี่ย
3 ถึง 9 ฟุต ลากอสมีโอกาสเสี่ยงที่สูงที่จะเผชิญภัยพิบัติขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง
โดยมีการคาดการว่าก่อนปี 2100 น้ำทะเลในโลกจะสูงขึ้น 6.6 ฟุต
3.ฮูสตัน,สหรัฐอเมริกา

เมืองในรัฐเท็กซัสแห่งนี้
เป็นที่รู้จักกันจากการเป็นเมืองที่ตั้งของนาซ่า มีอัตราการจมน้ำอยู่ที่ 2 นิ้วต่อปี
จากการใช้น้ำบาดาลมากเกินไป และฮูสตันเป็นเหยื่อของภัยพิบัติการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างกะทันหัน
บ่อยครั้งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก อย่างเฮอริเคนฮาร์วี่ย์เมื่อปี 2017 ที่ทำให้ 30,000
คนต่อไร้ที่อยู่อาศัย
4.ธากา,บังคลาเทศ

ประเทศบังคลาเทศสร้างแก๊สเรือนกระจก 0.3 % จากการปล่อยแก๊สเรือกระจกทั้งหมดในโลก
แต่เป็นประเทศที่ได้รอบผลกระทบจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากที่สุด
บังคลาเทศเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องเผชิญกับภัยน้ำท่วมซ้ำซาก มาตลอดหลายสิบปี
รัฐบาลสูญเสียงบประมาณไปหลายพันล้านในการช่วยเหลือและป้องกัน
ภายในปี 2050 มีโอกาสที่ 17% ของธากาเมืองหลวงบังคลาเทศจะจมอยู่ใต้น้ำ
ทำให้ประชาชนประมาณ 18 ล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
5.กรุงเทพ,ไทย

ทุกๆ 1 ปีเมืองหลวงของไทยแห่งนี้ มีอัตราจมน้ำอยู่ที่ 1 เซนติเมตร
และคาดว่ากรุงเทพจะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ในปี2030 ประชากรมากกว่า
10 ล้านคนต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
คาดว่าหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส
กรุงเทพอาจจมอยู่ใต้น้ำ
จากการที่ระดับน้ำทะเลที่มีระดับสูงขึ้น เช่นเดียวกับเมืองชายฝั่งอื่นๆหลายเมืองทั่วโลก