อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบ จากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกมากที่สุด
รอบไม่กี่ปีผ่านมานี้มีการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกอย่างรวดเร็วมากเป็นประวัติศาสตร์
ภาพธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายไปต่อหน้าต่อตา เป็นเหมือนหลักฐานยืนยันว่าโลกของเรากำลังร้อนขึ้น
สัญญาณหายนะที่ใกล้จะมาถึงของโลก อาจนำมาสู่ระดับทะเลที่สูงขึ้น น่าแปลกที่มีการประเมินว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หรืออาเซียนของไทยเรา จะได้รับผลกระทบจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกมากที่สุด
แม้จะตั้งอยู่ห่างขั้วโลกเหนือ 11,000 กิโลเมตร และห่างจะขั้วโลกใต้ 9,000 กิโลเมตรด้วยกัน

สิ่งที่ทำให้อาเซียนเราเป็นจุดเสี่ยง
คือเป็นภูมิภาคที่มีประชาการราว 650 ล้านคน ซึ่ง 450 ล้านคนอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงระดับน้ำทะเล
และปัญหาเกี่ยวกับแผ่นธรณีที่สามารถทำให้ที่ดินจมลงสู่ใต้น้ำได้จากแผ่นดินไหว the Centre for Climate Research Singapore ยังคาดการไว้ว่าหากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
จะส่งผลไปถึงพายุที่รุนแรง และระดับคลื่นสูงขึ้นเกือบเท่าตัวอีกด้วย
ปัจจุบันโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนประมาณ
1.5 องศาเซลเซียส
ซึ่งดูจะไม่สูงอะไร แต่คิดดูว่าถ้าอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 5 องศาก็เพียงพอที่จะทำให้น้ำแข็งขั้วโลกทั้งหมดละลาย
ดังนั้นถ้าปล่อยให้เกิดการปล่อยคาร์บอนสร้างภาวะโลกร้อน อาเซียนหลายพื้นที่จะมีความเสี่ยงที่จะจมอยู่ใต้น้ำทะเลได้
เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
รัฐบาลสิงคโปร์ อนุมัติงบ 10
ดอลล่าสิงคโปร์ เพื่อตั้ง National Sea Level Programme โครงการที่
รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการศึกษาทำความเข้าใจต่อผลกระทบที่จะเกิดจากระดับน้ำที่สูงขึ้น
เพราะ 30% ของประเทศสิงคโปร์
เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 5 เมตร หากระดับน้ำพุ่งสูงขึ้น
จะยังมีปัญหาเรื่องเขตแดนตามมาอีกด้วย โดยสิงคโปร์ได้เริ่มสร้างสาธารณูปโภคให้สูงขึ้นจากระดับน้ำทะเล
อย่างสร้างเทอร์มินอลที่ 5 ของสนามบิน Changi ให้สูงกว่าระดับน้ำทะเล 5.5
เมตร และสร้างท่าเรือ Tuas
ให้สูงขึ้นจากระดับน้ำทะเล นอกจากนั้นยังลงทุนมากกว่าพันล้านดอลล่าสิงคโปร์ไปในการทำระบบระบายน้ำใหม่
ในอินโดนีเซีย
ประเทศที่เต็มไปด้วยเกาะมากมาย เมื่อไม่นานมานี้ได้ประกาศแผนย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตา
ไปยังจังหวัดกาลิมันตันหรือที่รู้จักกันอีกชื่อคือเกาะบอร์เนียว นอกจากเหตุผลเรื่องวัฒนธรรม
การเมือง เศรษฐกิจ ยังมาจากการเตรียมรับมือจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน
ซึ่งอาจจะทำให้เมืองจาการ์ตาจมลงสู่ทะเลได้
เนื่องจากจาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองที่มีอัตราจมเร็วที่สุดในโลก พื้นที่ 2 ใน 5 ของจาการ์ตาอยู่ในระดับต่ำกว่าน้ำทะเล พื้นที่ทางตอนเหนือของจาการ์ตาทรุดตัวลง
2.5 เมตรในช่วง 10 ปี และจะทรุดลงเรื่อยๆ เฉลี่ย 1-15
เซนติเมตรต่อปี ซึ่งมาจากการขุดน้ำบาดาลเพื่อใช้อุปโภคและบริโภค พื้นที่เมื่องหลวงใหม่ก็ยังมีความเสี่งภัยธรรมชาติที่จะตามน้อยกว่าทั้ง
ส่วนประเทศไทยเราเหมือนกับประเทศอื่นๆ
ที่เมืองชายฝั่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมจมไปในมหาสมุทร แม้จะดูเป็นส่วนเล็กๆ แต่เมืองชายฝั่งนั้นมีความหนาแน่นของประชากรสูงเป็นพิเศษ
อย่างในกรุงเทพก็ถือว่าเป็นอีกเมืองที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะจมไปกับน้ำทะเล หรือเราจะย้ายเมืองหลวงกันดีมั้ย?
อ้างอิง
https://www.todayonline.com/commentary/rising-challenge-surging-seas-south-east-asia
https://www.eco-business.com/news/southeast-asia-will-be-hardest-hit-by-melting-ice-governments-urged-to-speed-up-change/
อ้างอิง
https://www.todayonline.com/commentary/rising-challenge-surging-seas-south-east-asia
https://www.eco-business.com/news/southeast-asia-will-be-hardest-hit-by-melting-ice-governments-urged-to-speed-up-change/