“The (cold)war Never Over” สงครามเย็นยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพรัสเซีย
สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วจริงๆหรือ? การล้มสลายของกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งแยกเยอรมันออกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก เป็นสัญญาลักษณ์การสิ้นสุดของยุคสงครามเย็น ยุคสมัยของการแข่งขันระหว่างสองขั้วความคิดคือ “เสรีนิยม” ที่นำโดย สหรัฐอเมริกากับ “สังคมนิยม” ที่มีสหภาพโซเวียดเป็นแกนนำ ความถดถอยจนต้องสลายตัวของสหภาพโซเวียด เป็นเหมือนความพ่ายแพ้ของค่ายสังคมนิยม หลังจากสงครามเย็นสหรัฐฯ ก็ก้าวมาเป็นมหาอำนาจใหญ่ของโลกเพียงผู้เดียว

“สงครามเย็นครั้งใหม่” เริ่มถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อรัสเซียกลับมามีอิทธิพลทางการเมืองโลกอีกครั้ง จนถึงมีคนบอกว่ามันไม่ใช่สงครามเย็นครั้งใหม่ แต่ที่จริงสงครามเย็นนั้นไม่เคยจบไปเลยด้วยซ้ำ ฝ่ายรัสเซียอาจแค่บาดเจ็บกลับไปรักษาตัว จริงๆแล้วโซเวียดก็ไม่เคยบอกตัวเองยอมแพ้ด้วยซ้ำไป สงครามเย็นในยุคใหม่ทั้งสิ่งที่เหมือนถอดแบบจากยุคเก่า และสิ่งที่แตกต่างออกไปตามยุคสมัยดิจิตอล
“สงครามตัวแทน”
เป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น เหมือนกันสมัยเก่าที่สองมหาอำนาจนี้จะใช้ความขัดแย่งภายในประเทศอื่นๆ เป็นพื้นที่ประลองกำลังกัน โดยเข้าไปให้การสนับสนุนคนละฝั่งความขัดแย่งแย่งกัน อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเวียดนาม เกาหลี มาในยุคสมัยนี้ก็คล้ายๆกัน สหรัฐฯถือหางข้างไหน รัสเซียเป็นต้องแทงสวน ยืนสนับสนุนอีกฝ่ายเสมอ อย่างในซีเรีย สหรัฐฯให้สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ส่วนรัสเซียก็หนุนหลังรัฐบาลของอัดซาด สงครามตัวแทนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงการปะทะของ มหาอำนาจมาตลอด แต่เคราะห์กรรมก็มาตกกับประชาชนในประเทศ
เป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น เหมือนกันสมัยเก่าที่สองมหาอำนาจนี้จะใช้ความขัดแย่งภายในประเทศอื่นๆ เป็นพื้นที่ประลองกำลังกัน โดยเข้าไปให้การสนับสนุนคนละฝั่งความขัดแย่งแย่งกัน อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเวียดนาม เกาหลี มาในยุคสมัยนี้ก็คล้ายๆกัน สหรัฐฯถือหางข้างไหน รัสเซียเป็นต้องแทงสวน ยืนสนับสนุนอีกฝ่ายเสมอ อย่างในซีเรีย สหรัฐฯให้สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ส่วนรัสเซียก็หนุนหลังรัฐบาลของอัดซาด สงครามตัวแทนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงการปะทะของ มหาอำนาจมาตลอด แต่เคราะห์กรรมก็มาตกกับประชาชนในประเทศ
“อาวุธนิวเคลียร์”
ถูกใช้เป็นสนามพลังที่ใช้ขมขู่กันมาตั้งแต่สมัยก่อน จนเกือบมีหายนะจากระเบิดนิวเคลียร์หลายครั้ง อย่างที่โด่งดังที่สุด “วิกฤตการคิวบา” ที่โลกเกือบได้สัมผัสอนุภาพของระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่สอง ทุกวันนี้ประเทศต่างๆเริ่มมีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กันมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อตกลงต่างๆที่เคยทำไว้อย่าง สนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty หรือ INF) ที่กว่าจะเกิดขึ้นได้มาต้องผ่านการเจรจากันหลายลอบ แต่ล่าสุดสหรัฐฯกลับมีท่าทีจะถอนตัวออกจากเข้าตกลงเหล่านี้
ถูกใช้เป็นสนามพลังที่ใช้ขมขู่กันมาตั้งแต่สมัยก่อน จนเกือบมีหายนะจากระเบิดนิวเคลียร์หลายครั้ง อย่างที่โด่งดังที่สุด “วิกฤตการคิวบา” ที่โลกเกือบได้สัมผัสอนุภาพของระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่สอง ทุกวันนี้ประเทศต่างๆเริ่มมีการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กันมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อตกลงต่างๆที่เคยทำไว้อย่าง สนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Forces Treaty หรือ INF) ที่กว่าจะเกิดขึ้นได้มาต้องผ่านการเจรจากันหลายลอบ แต่ล่าสุดสหรัฐฯกลับมีท่าทีจะถอนตัวออกจากเข้าตกลงเหล่านี้
“สายลับ”
เหมือนที่เคยได้ผ่านตาในภาพยนตร์ฮอลีวูดกันมาบ้าง กับเรื่องราวในยุคสงครามเย็นที่ทั้งสองฝั่งต่างส่ง สายลับเข้าไปลวงความลับ “ทางการทหาร” “ความมั่นคง” จากฝั่งตรงข้าม แต่ไม่นานมานี้ก็กรณีการลอบวางยาพิษสายลับรัสเซียในอังกฤษที่เป็นข่าวโด่งดัง ทำให้โลกได้รู้ว่าสงครามสายลับยังคงอยู่ หรืออาจจะไม่เคยหายไปเลยตั้งแต่สงครามเย็น แม้แต่เรื่อง “ฟุตบอล”
เหมือนที่เคยได้ผ่านตาในภาพยนตร์ฮอลีวูดกันมาบ้าง กับเรื่องราวในยุคสงครามเย็นที่ทั้งสองฝั่งต่างส่ง สายลับเข้าไปลวงความลับ “ทางการทหาร” “ความมั่นคง” จากฝั่งตรงข้าม แต่ไม่นานมานี้ก็กรณีการลอบวางยาพิษสายลับรัสเซียในอังกฤษที่เป็นข่าวโด่งดัง ทำให้โลกได้รู้ว่าสงครามสายลับยังคงอยู่ หรืออาจจะไม่เคยหายไปเลยตั้งแต่สงครามเย็น แม้แต่เรื่อง “ฟุตบอล”
มี สารคดีเรื่อง ‘World cup of spies’ ของผู้กำกับชาวเดนมาร์ก ที่เล่าเรื่องของอังกฤษและรัสเซีย สองประเทศที่ต่างใช้สงครามสายลับสืบหาความลับฝ่ายตรงข้าม โดยมีเป้าหมายเพียงเพื่อให้ประเทศของตัวเองได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018
“สงครามข้อมูลข่าวสาร”
เป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปของสงครามเย็นในยุคใหม่ ท่ามกลางโลกยุคไซเบอร์ สนามรบก็ถูกย้ายมารบกับบนโลกออนไลน์ ด้วยการใช้ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารหรือ IO ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ ข้อมูลลวง เพื่อปั้นหัวประชาชนและรัฐบาลฝ่ายตรงข้าม ดูเหมือนรัสเซียจะเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ จนมีข่าวมีการแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ที่รัสเซียใช้ Bot โจมตีโลกโซเชี่ยลในสหรัฐฯ ด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อผลักดันให้โดนัลด์ ทรัมป์ก้าวขึ้นมาชนะการเลือกตั้ง ซึ่งแม้แต่ทรัมป์เองก็ไม่ได้ออกมาปฏิเสธอย่างเต็มคำ
เป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปของสงครามเย็นในยุคใหม่ ท่ามกลางโลกยุคไซเบอร์ สนามรบก็ถูกย้ายมารบกับบนโลกออนไลน์ ด้วยการใช้ปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสารหรือ IO ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ ข้อมูลลวง เพื่อปั้นหัวประชาชนและรัฐบาลฝ่ายตรงข้าม ดูเหมือนรัสเซียจะเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ จนมีข่าวมีการแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี 2559 ที่รัสเซียใช้ Bot โจมตีโลกโซเชี่ยลในสหรัฐฯ ด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อผลักดันให้โดนัลด์ ทรัมป์ก้าวขึ้นมาชนะการเลือกตั้ง ซึ่งแม้แต่ทรัมป์เองก็ไม่ได้ออกมาปฏิเสธอย่างเต็มคำ
การแซงแทรกการเลือกตั้งไม่ใชเรื่องใหม่ในยุคสงครามเย็นทั้ง 2 ฝั่งก็เคยแทรกแซงการเลือกตั้งในต่างประเทศมาแล้ว อย่างในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัสเซียเข้าแทรกแซงการเลือกตั้งใน เชโกสโลวาเกีย บัลกาเรีย ฮังการี เพื่อที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะชนะการเลือกตั้ง ส่วนสหรัฐฯ ก็เข้าแทรกแซงการเลือกตั้งในอิตาลีในปี ค.ศ.1984