เมื่อการเปลี่ยนแปลงภาพอากาศ ทำให้เราลุกขึ้นมาห้ำหั่นกัน
Harald
Welzer ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Flensburg ประเทศเยอรมนีผู้เขียนหนังสือ “Climate Wars: Why People
Will Be Killed in the 21st Century” (สงครามภูมิอากาศ: เหตุผลที่ผู้คนจะถูกฆ่าในศตวรรษ 21) หนังสือที่อธิบายผลกระทบทางวัฒนธรรมและการเมืองจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เคยให้สัมภาษณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
เป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งในที่แฝงอยู่ในความขัดแย้งทั่วโลก
และจะเป็นเชื้อเพลิงสำคัญขับเคลื่อนความขัดแย้งทั่วทั้งโลก
โลกในอนาคตการเมืองหรืออุดมคตินี้จะเป็นเพียงฉาบหน้าของความชัดแย้ง
แต่การแย่งชิงทรัพยากร (ที่มีจำกัดลงทุกวัน)
จะเป็นตัวแปรแท้จริงที่จะทำให้ผู้คนลุกขึ้นมาห้ำหั่นกัน
นำไปวิกฤตผู้ลี้ภัยที่จะตามมา “หลักการง่าย ๆ
เลย คือมันเป็นเรื่องปกติที่ความรุนแรงจากความขัดแย้ง (violent conflict) จะมีสูงขึ้น
เมื่อภาวะการอยู่รอดของผู้คนถูกคุกคาม
คำถามของผมก็คือถ้านักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย พูดถูกเกี่ยวเกี่ยวภาวะโลกร้อน
หมายความว่ามันคือเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีเกิดความรุนแรงจากความขัดแย้ง” อ่านได้บทสัมภาษณ์เต็มๆได้ที่นี้
ความขัดแย้งที่นำสู่ความรุนแรงนั้นดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์ตลอด
ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แต่เมื่อทรัพยากรลดน้อยลง
ส่งผลต่อความอยู่รอดกลุ่มคน การแย่งชิงทรัพยากรจะเข้าไปเร่งความขัดแย้งที่มีอยู่แล้ว
ยิ่งในประเทศที่สถาบันทางสังคมที่คอยกระจายทรัพยากรและจัดการความขัดแย้งไม่มีสิทธิภาพ
ปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้น
สงครามกลางเมืองในซีเรียได้สร้างคลื่นผู้อพยพมหาศาลในปัจจุบัน
เป็นที่รับรู้กันดีว่าจุดเริ่มต้นทั้งหมด
เกิดจากการลุกขึ้นโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ถูกยกเป็นตัวอย่างหนึ่งของ
การที่เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้าไปมีส่วนความขัดแย้ง
มูลนิธิความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
(The Environmental
Justice Foundation - EJF) ได้ออกรายงาน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เข้าไปเป็นตัวผลักดันให้เกิดวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดของโลก
โดยมุ่งความสนใจไปยังความขัดแย้งในซีเรีย
ซีเรียมีพื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งค่อมอยู่ใน
“ดินแดนวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์” (fertile crescent) พื้นที่อุดมสมบูรณ์หล่อเลี้ยงด้วยแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
แม่น้ำไนล์ และแม่น้ำจอร์แดน ย้อนกับไปในอดีตอันแสนใกลพื้นที่แถบนี้ละเป็นต้นกำเนิดการเกษตรกรรมที่สำคัญที่สุด
เปลี่ยนมนุษย์เผ่าฮอร์โมน เซเปียน จากการล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม แม้กระทั้งปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของภูมิภาคตะวันออกกลาง
เมื่ออุณภูมิโลกที่สูดขึ้นพื้นที่บริเวณนี้ที่เคยสมบูรณ์ก็เปลี่ยนไป
คลื่นความร้อน ฤดูแล้งที่ยาวนาน ผลที่ตามมาทำให้ประมาณฝนลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว
เกษตรกรรมในพื้นที่แถบนี้ได้รับผลกระทบโดยตรง
ซีเรียเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างมาก
จากที่เคยผลิตอาหารได้มากจากความอุดมสมบูรณ์ เป็นหนึ่งในครัวใหญ่ป้อนอาหารให้แก่ภูมิภาค
กลายเป็นประเทศที่ต้องประสบปัญหาความขาดแคลนเสียเอง ในช่วงตั้งแต่ปี 1999-2009 เป็นช่วงที่ซีเรียนต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารหลักอยู่หลายครั้ง
ทั้งเกี่ยว ข้าวสี ฝ้าย และบาร์เลย์ รวมไปถึงปศุสัตว์ ที่มีหลายต่อหลายปีที่ผลผลิตตกต่ำลงอย่างมาก
โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหลัก ทำให้ความมั่นคงทางอาหารของคนเรือนล้านสั่นคลอน
ในปี 2008 รัฐบาลซีเรียต้องนำเข้าข้าวสาลีเป็นครั้งแรกในรอบ15 ปี แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะหยุดราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นได้
ข้าวสาลีและบาร์เลย์ราคาพุงสูงขึ้นถึงร้อยละ 25 มีการประมาณการว่าประชาชนกว่า
3.7 ล้านคนต้องดำรงชีวิตในภาวะไม่มีความมั่นคงทางอาหาร
ยังมีรายงานอีกหลายชิ้นที่บอกไปทางเดียวกันว่าซีเรียในช่วง 1999-2011 ซึ่งเป็นช่วงก่อนสงครามกลางเมืองนั้น
ถูกภัยแล้งจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเล่นงาน
จนองค์กรสหประชาชาติต้องออกมาประกาศว่าประชาชนชาวซีเรีย 2-3 ล้านคนถูกทำให้เข้าสู่ความยากจนจากภายแล้ง
เมื่อภาคการเกษตรไม่สามารถรองรับชีวิตผู้คนในชนบทได้
สถานการณ์จึงออกมาคล้ายๆประเทศทไทยที่ จากแต่ก่อนชาวชนบทที่ทำการเกษตร จะอพยพไปทำงานในเมืองใหญ่ช่วงเว้นว่างจากเกษตรเพียงชั่วคราว
เมื่อการเกษตรในชนบทได้รับความเสียหายซ้ำซาก รูปแบบการเคลื่อนย้ายอพยพจึงเปลี่ยนไปเป็นแบบภาวร
จากที่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนการย้ายถิ่นต่ำ กลายเป็นมีประชาชนหลายแสนคนต่อปีที่ย้ายออกจากชนบท
เข้าไปทำงานเมืองใหญ่ที่ซึ่งความขัดแย้งปะทุขึ้นที่นั้น บวกกับมีอัตราเพิ่มขึ้นของประชากรในสัดส่วนที่สูง
จึงตามมาด้วยปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่
ทำให้เกิดการขยายตัวของคนจน คนชายขอบ ทั้งในพื้นที่ชนบทและในเมืองใหญ่ มีงานศึกษาของ
London School of
Economics ชี้ให้เห็นว่ากรณีซีเรียแตกต่างไปจากอาหรับสปริงของประเทศอื่น
ที่เกิดขึ้นจากคนชนชั้นกลางเป็นผู้เล่นสำคัญ
แต่การลุกฮือในซีเรียที่เกิดขึ้นท่ามกลาง คนชายขอบ คนจน ชาวชนบท ไปจนถึงแรงงานอพยพ
ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขยายจำนวนขึ้นในช่วงเริ่มทศวรรษที่ 20 จากการปัจจัยหลายสิ่งที่กล่าวมา
ความขัดแย้งในซีเรียมีมาก่อนหน้านี้
ก่อนที่จะเกิดภัยแล้วครั้งนี้แล้ว ด้วยการปกครองแบบเผด็จการพรรคเดียวมาอย่างยาวนาน
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้วเพียงเข้ามา เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
ยิ่งในประเทศที่ไม่มีการกระจายระบบทรัพยากรและจัดการความขัดแย้งที่ดีพอแล้ว
ความขัดแย้งจะยิ่งขยายตัวได้ง่ายมากขึ้น
เมื่อประชาชนจำนวนมากในประเทศกำลังประสบปัญหาใหญ่
รัฐบาลกลับไม่ได้ทำอะไรให้สถานการณ์ดีขึ้น ด้วยการกระจายทรัพยากรให้ลงไปถึงคนทุกชนชั้น
แต่กลับปล่อยให้ระบบทุนนิยมแบบพวกพ้องที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มชนชั้นนำดำเนินต่อไป แทนที่จะมีบังคับเก็บภาษีหรือกำจัดการคอรัปชั่นในหมู่ชนชั้นนำ
กลับจำกัดเงินที่เคยบอกว่าจะนำไปใช้ทำสวัสดิการ อุดหนุนการเกษตร เมื่อก้อนเค้กแห่งทรัพยากรของซีเรียหดเล็กลงแต่กลับไม่ถูกแบ่งปันไปยังประชาชน
ความไม่พ่อใจต่อผู้ปกครองจึงเกิดขึ้น กรณีของซีเรียกลายเป็นตัวอย่างสำคัญ
ที่มักถูกยกขึ้นมาแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้าไปมีส่วนเป็นตัวแสดงที่สำคัญในความขัดแย้งในโลกสมัยใหม่
เหมือนกับอีกกรณีคือความขัดแย้งในเขตดาร์ฟูร์
ดินแดนทางด้านตะวันตกของประเทศซูดาน ที่นำมาสู่สิ่งที่ถูกเรียกว่า
“การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ครั้งแรกในทศวรรษทที่ 20 กองทัพปลดปล่อยซูดาน
(Sudan Liberation Army หรือ SLA) และขบวนการเรียกร้องความเสมอภาคและความยุติธรรม
(Justice and Equality
Movement หรือ JEM) ที่ลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลกลาง
จบลงด้วยการปราบปรามอันโหดร้ายจาก “ฝ่ายรัฐ”
เมื่อสืบค้นต้นตอปัญหานั้นมาจาก
สองกลุ่มคือชาวแอฟริกันพื้นถิ่นหลากหลายชนเผ่าที่ประกอบเกษตรกรรมเป็นหลัก
และกลุ่มชาวอาหรับที่ส่วนใหญ่ยึดการทำปศุสัตว์แบบเร่ร่อน
เป็นวิถีมาตั้งแต่โบราณที่สองกลุ่มอยู่รวมกันอย่างสบประโยชน์
ชาวอาหรับสามารถเอาสัตว์ของพวกเขาเข้าไปในพื้นที่การเกษตรได้
และชาวแอฟริกันก็ได้ประโยชน์มูลสัตว์ที่เป็นปุ๋ยชั้นดี
รายงานของ United Nations Environment Programme ที่ชี้ว่าภาวะโลกร้อนที่ทำให้ทรัพยากรในพื้นที่เริ่มมีจำกัดลงเป็นตัวเร่งความขัดแย้งในความขัดแย้งครั้งนี้
ภัยแห้งที่มาติดๆกันบ่อยครั้ง ริมาณน้ำฝนลดลงร้อยละ 16-40 ผลผลิตการเกษตรตกต่ำอย่างหนัก
ทะเลทรายซาฮาราขยายตัวกินพื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่หลายสิบไมล์
ชาวแอฟริกันเริ่มกั้นที่เดินของพวกเขาไม่ให้ชาวอาหรับนำสัตว์เข้ามา
จนนำมาสู่การแย้งชิงที่ดินกันลุกลามมาเป็นสงครามระดับชาติที่เกินเวลายาวนาน เพรารัฐบาลถูกมองว่าไปเข้าข้างชาวอาหรับ
ที่เป็นผู้อิทธิพลทางการเมืองอยู่ก่อนแล้ว จนเกิดการก่อกบฏรัฐบาลมาหลายรอบ จบลงด้วย
200,000 กว่าชีวิตถูกฆ่าในดาร์ฟูร์ และส่งผลให้ 2.2 ล้านคนต่อไร้ที่อาศัย ส่วนมากมาจากการปราบปรามของรัฐ
จริงๆแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศไม่ได้เพิ่มถูกมองว่าเป็นตัวแปรให้เกิดความขัดแย้ง
บทความ Are we on the
road to civilization collapse เขียนโดยนักวิชาการใน the Centre for the Study of Existential Risk ที่ศึกษาความเสี่ยงต่างๆที่โลกกำลังเผชิญ ระบุว่า
การเปลี่ยนของแปลงสภาพอากาศ เคยเป็นปัจจัยที่ให้อารยธรรมในอดีตล่มสลายมาแล้ว
อย่างอาณาจักรโรมันที่เกิดภัยแล้งและความขัดแย้งภายในทำให้ถูกพิชิตโดยง่าย
เรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกับความขัดแย้งของโลกนั้น
ยังเป็นเพียงมุมหนึ่งในการมองความขัดแย้งเท่านั้น
ยังมีความเห็นอีกหลายส่วนที่ออกมาแย้งว่า
ไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักพอที่จะตัดสินว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศนั้นส่งผลให้เกิดความขัดแย้งโดยตรงต่อวิกฤตความรุนแรงครั้งใหญ่ของโลก
โดยเฉพาะกรณีในซีเรีย
หรือหากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องโดยตรงก็เป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง ท่ามกลางปัจจัยอื่น
ๆ มากมายที่เข้าไปเกี่ยวข้องเท่านั้น