มารู้จัก “ผู้ลี้ภัย”จากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะนำเราไปสู่วิกฤตผู้ลี้ภัยที่รุนแรง ยิ่งคนในพื้นที่ยากจน ที่มีความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ต่ำ จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบที่สุด และส่วนหนึ่งต้องทนทุกข์กับผลกระทบของมันแล้ว” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Pope Francis) เคยกล่าวไว้ในปี 2016
‘Climates Change Refugee’ หรือว่า ‘ผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว’ เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง
มีการคาดการณ์ว่าตั้งแต่ปี 1995 จนมาถึงปี 2015
มีกว่า
6 แสนคนเสียชีวิต ราว 4.1 ล้านคน ได้รับบาดเจ็บหรือต้องสูญเสียที่อยู่อาศัยจากภัยน้ำท่วม
พายุ คลื่นความร้อน จากสภาพภูมิอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว
หรือปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
‘Climates Change Refugee’ ถูกให้ความหมายถึง
ผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้มาจากภัยสงครามหรือความยากจน
แต่ต้องเคลื่อนย้ายถิ่นอาศัยเนื่องจากผลกระทบรูปแบบต่างๆ
ของการเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศ ในยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์ส่งผลโดยตรงสภาพอากาศของโลก
จากการทำลายธรรมชาติและการปล่อยมลพิษอย่างก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
ทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆนับตั้งแต่มนุษย์เปลี่ยนมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ซึ่ง 5
ล่าสุดปีที่ผ่านมามีถึง
4 ปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการวัดแบบทางการมา
สุดท้ายโลกก็หันมาเล่นงานเอาคืนเราผ่านการคลื่นความร้อน
ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นกว่าปกติ
ผลักดันให้คนหลายล้านต้องออกจากที่อยู่อาศัยเดิมของตน โดยบังคลาเทศเป็นพื้นที่เห็นนี้เรื่องเด่นได้ชัดมากที่สุด
จากการที่ตั้งอยู่พื้นที่ลุ่มน้ำทำให้ต้องเจอปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก รวมถึงการหนุนขึ้นมาจากน้ำทะเลที่สูง
และมรสุมถล่มอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ด้วยบังคลาเทศเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรต่อพื้นที่หนาแน่น
มาตรการของภาครัฐยังไม่ได้มีประสิทธิภาพ
ทำให้ประชากรต้องเสียบ้านที่อยู่อาศัยกลายเป็นผู้ลี้ภัย
เคยมีการประมาณว่าการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะ
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศนี้ 100,000 คน และอีก 55 ล้านคนได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ 148.7 ล้านคน
ส่วนต้นทุนความเสียหายคิดเป็น 3.7%ของ GDP
มีการประเมินอีกว่า ในปี 2030 ผู้เสียชีวิตในบังกลาเทศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจะเพิ่มเป็น 150,000 คน
และมีประชาชนอีก 70 ล้านคน ที่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
โดยเฉพาะเรื่องความอดอยากจากความไม่มั่นคงทางอาหารที่จะเพิ่มขึ้นเพราะสภาพอากาศที่เลวร้าย
การเกษตรเป็นหนึ่งในสาเหตุใหญ่ ที่ทำเกิดภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างสุดขั้ว
แต่ก็เป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในลำดับต้นๆ
เมื่อรูปแบบการตกของฟ้าฝนเปลี่ยนไปกะทันหัน ไปจนถึงภัยแล้งเป็นสาเหตุ ทำให้ผลผลิตทางเกษตรเสียหายอย่างมาก
หลายพื้นที่จนถึงกลับไม่สามารถทำกานเพาะปลูกได้อีก
ยิ่งพื้นที่เกษตรของประเทศยังไม่พัฒนา ที่ไม่ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ความรุนแรงจะยิ่งมากตามไปด้วย
งานศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
สำรวจการผู้คนที่แสดงความจำนงขอลี้ภัยมายังสหภาพยุโรป พบว่ามีมากกว่า 350,000
คำขอต่อปี
จาก 103 ประเทศทั่วโลก นำมาจำแนกตามประวัติสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่
เพื่อหาความแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ในช่วงตั้งแต่ 2000-2014 สิ่งที่งานศึกษาชิ้นนี้ค้นพบ
คือยิ่งประเทศใดอุณหภูมิในพื้นที่เกษตรกรรมแปรปรวนออกจากค่าที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก
จะมีจำนวนผู้ส่งคำขอลี้ภัยมากขึ้นตามมาด้วย และเมื่อคาดการณ์จากสถานการณ์ปัจจุบัน
ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 21 จะมีอัตราการขอลี้ภัยเพิ่มขึ้นถึง 200%
ในภาพใหญ่เรื่อง Climates Change Refugee จึงไม่ใช่ปัญหาในระดับเล็กๆ
แต่เป็นปัญหาในภาพกว้างระดับโลก ที่จะนำมาสู่คลื่นผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ในอนาคตได้ ถึงขณะในประเทศนิวซีแลนด์มีข้อเสนอจากรัฐมนตรีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เสนอให้รัฐบาลออก “วีซ่าด้านมนุษยธรรม” (Humanitarian Visa for ‘Climate
Refugees’) ที่สามารถอยู่อาศัยในนิวซีแลนด์ได้ ให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มสูงขึ้น
ของระดับทะเลในหมู่เกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
ซึ่งเป็นที่พื้นเปราะบางจากการระดับที่สูงขึ้นด้วยภาวะโลกร้อน
คาดว่าในอนาคตบางเกาะจะหายไปในจากแผนที่โลก
นอกจากการได้รับจะผลกระทบทางธรรมชาติจาก ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างสุดขั้ว
นำมาสู่ปัญหาการอพยพแล้ว Climate change ยังถูกมองว่าเข้าไปมีส่วนทำเกิดความขัดแย้ง
นำมาสู่ปัญหาผู้ลี้ภัยด้วยอย่างในซีเรีย โลกร้อนเกี่ยวอะไรกับสงครามกลางเมือง?
ซึ่งจะนำเสนอให้อ่านในบทความต่อไป