ความเหลื่อมล้ำจะนำสู่การล่มสลายของอารยธรรม
ปัจจุบันคนที่รวยที่สุด 1% ของโลกถือครองความมั่งคั่งเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งหมดในโลก
ก่อนหน้านี้คน 1% บนสุดนี้ ในช่วง 80s ยังครองความั่งคั่งแค่ 20% อยู่เลย
แสดงว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของโลกแย่ลงเรื่อยๆ “Oxfam” ประเมินว่า กลุ่มมหาเศรษฐีพันล้านนี้ในปีที่ผ่านมานั้นมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มสูงขึ้นถึง 7.6 แสนล้านดอลล่าร์ เงินและทรัพย์สินไหลเข้าไปหาคนกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หากความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปเรื่อยๆสิ่งที่ตามมาอาจจะถึงขั้นของการล่มสลายของสังคม อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต
แสดงว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของโลกแย่ลงเรื่อยๆ “Oxfam” ประเมินว่า กลุ่มมหาเศรษฐีพันล้านนี้ในปีที่ผ่านมานั้นมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มสูงขึ้นถึง 7.6 แสนล้านดอลล่าร์ เงินและทรัพย์สินไหลเข้าไปหาคนกลุ่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆ หากความเหลื่อมล้ำมากขึ้นไปเรื่อยๆสิ่งที่ตามมาอาจจะถึงขั้นของการล่มสลายของสังคม อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต

นักโบราณและนักมนุษย์วิทยาได้เข้าไปศึกษาอารยาธรรมของมนุษย์ในอดีต
พบว่าความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นมาและเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ที่มนุษย์สามารถ
ปลูกพืชพันธ์กลายเป็นยุคเกษตรกรรม ที่เอื้อให้สามารถสะสมทรัพย์สินได้มากกว่าการเข้าป่าล่าสัตว์
ทำให้เกิดความเลื้อมล้ำขึ้นเรื่อย ในระดับที่แตกต่างกันตามแต่ละสังคม Luke
Kemp นักวิจัยจาก
Centre for the Study of Existential Risk เคยรวบรวมสาเหตุของการล่มสลายของอารยธรรมมนุษย์
อย่างเช่นสาเหตุของภัยพิบัติ การลดลงของทรัพยากร ซึ่งหนึ่งในนั้นคือความเหลื่อมล้ำที่ว่ามานี้ละ
ที่เป็นสาเหตุการล่มสลาย
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและทางอำนาจการเมือง ทำให้สังคมนั้นๆเกิดการถือครองทรัพยากรจำกัดอยู่เพียงไม่กี่คน
นอกจากทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองแล้ว ยังทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาอื่นๆที่เข้ามาอย่างภัยพิบัติ
การลดลงทางทรัพยากร อย่างที่เคยเกิดในสังคมโรมัน ปัจจัยการล่มสลายของอื่นเข้ามาอย่างการรุกรานจากภายนอก
หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมถอย ซึ่งจะเห็นปัญหานี้เกิดขึ้นในอารยธรรมต่างๆทั่วโลกตลอดประวัติศาสตร์ของโลก
อย่างล่าสุดในความเหลื่อมล้ำในซีเรียที่มีคนถือส่วนแบ่งของก้อนเค้กขนาดใหญ่อยู่เพียงไม่กี่คน
ในช่วงเวลาที่ประเทศซีเรียต้องพบเจอกับภัยแล้งที่นำมาสู่การอดอยากครั้งใหญ่ รัฐบาลเผด็จการที่ปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน
กลับไม่ได้มีเครื่องมือในการจัดการกระจายทรัพยากรที่ดีพอ
ที่จะสนองความต้องการของพวกเขาได้
ปล่อยให้ระบบทุนนิยมแบบพวกพ้องที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มชนชั้นนำดำเนินต่อไป ก้อนเค้กของทรัพยากรที่ถูกแบ่งแบบไม่เป็นธรรมอยู่แล้ว
ยิ่งหดเล็กลงจึงนำมาสู่การลุกขึ้นต่อต้านของประชาชน จนเป็นสงครามกลางเมืองยืดยาวมาจนปัจจุบัน
และมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์อีกครั้งเมื่อเกิดความเหลื่อมล้ำ ตามที่คำกล่าวของWalter
Scheidel จากมหาวิทยาลัยปริ๊นสตัน บอกว่าสิ่งที่หยุดความเหลื่อมล้ำได้ผลที่สุดคือความรุนแรง
อย่างการตายมากมายจากโลกระบาดในยุคกลาง การล่มสลายของระบบเศรษฐกิจและรัฐในช่วงราชวงศ์ถังของจีน
และอาณาจักรโรมัน หรือสงครามต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบถึงความมั่งคั่งของชนชั้นนำมากไปกว่า
เครืองอย่างการปฎิรูปทางการเมืองที่เป็นการเจรจาของชนชั้นนำ
งานศึกษาของที่ได้รับการสนับสนุนโดยนาซาที่ออกมาในไม่นานมานี้ ได้ศึกษาถึงแนวโน้มการล่มสลายของอารยธรรมปัจจุบัน
โดยใช้โมเดลจากตัวอย่างแพทเทิร์นการล่มสลายในอดีต โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสถิติเข้ามาศึกษามากไปกว่าเรื่องประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียว
สิ่งที่พบอย่างเดียวกันคือในสังคมที่มีความซับซ้อนสูงๆ อย่งาลำดับขั้นทางสังคมหลายชั้น
จะเป็นเหตุที่นำมาสู่การล่มสลายในที่สุดหรืออาจจะดำรงอยู่อย่างอ่อนแอ ในสังคมอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันเงินไหลเข้ามาไปสู่คนชนชั้นนำมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นฉากซ้ำการล่มสลายของสังคมหลายๆแห่งในอดีต
ความไม่สมดุลเกิดขึ้น ชนชั้นนำใช้ทรัพยากรมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่าจะมีการบอกว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนสำคัญ ทำให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่กับในทางกลับกันก็ทำให้สามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้ในทรัพยากรได้มากขึ้นด้วย
ซึ่งรายงานชิ้นนี้คาดว่าจะมีการล่มสลายของสังคมอุตสาหกรรมภายในไม่เกิน 100 ปีนี้
หากความเหลื่อมล้ำยังคงอยู่