เมื่อแมลงที่เราเกลียดกลัวหายไป หายนะของโลกก็อาจตามมา
เราต่างรู้สึกสะท้อนใจเวลาได้ยินข่าว ว่ามีสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธ์
อย่างเสือดำ ช้าง หรือนกพันธุ์หายาก แต่เอาเข้าจริงๆแล้วสิ่งที่กำลังจะหายไปจากโลกกลับเป็นสัตว์
‘แมลง’ แต่ไม่ค่อยจะมีใครสนใจพวกมันเท่าไหร่
อาจจะมองว่าดีเสียอีกที่จะได้ไม่มีพวกมันมาคอยกวนใจอีก ไม่รู้เสียแล้วว่าการหายไปของพวกมันอาจจะหมายถึงหายนะของโลกเลยทีเดียว
และสาเหตุก็มาจากมนุษย์เรานี้ละ
การหายไปเหล่าปีแข็ง
จำโมเม้นต์ที่เราเดินทางด้วยรถยนต์ไปตามเขตชนบท เมื่อรถหยุดลงที่ปัดน้ำฝนรถเราจะเต็มไปด้วยแมลงที่ตายกองกันอยู่
ช่วงหลังภาพพวกนั้นเริ่มไม่มีให้เห็นแล้ว The new global review พบว่า สายพันธุ์ของแมลงลดลงมากกว่า
40% และจำนวนของมันลดลง 2.5 % ต่อปี อัตราการลดลงขนาดนี้ถือว่ามีอัตราการลดลงมากว่าเผ่าพันธ์อื่น
อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีกหรือสัตว์เลื้อยคลาน ถึง 8 เท่าตัวเลยทีเดียว
ว่ากันว่าโลกเข้าสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 โดย 5 ครั้งก่อนเช่นการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
หรือการสูญพันธ์ช่วงยุคน้ำแข็ง แต่การสูญพันธุ์ครั้งนี้จะมาจากฝีมือมนุษย์ การตระหนักของถึงการสูญเสียครั้งนี้ส่วนใหญ่จับจ้องไปยังสัตว์ใหญ่ที่รับรู้ถึงการมีอยู่ง่าย
ต่างจากเหล่าแมลงที่ยากจะศึกษาความเป็นอยู่ของมัน และยังไม่มีการเก็บข้อมูลรระยะยาวอย่างเป็นระบบ
ส่วนมากจะมีเงินสนับสนุนวิจัยวิธีการกำจัดแมลงมากกว่า ล่าสุดมีรายงานว่าแมลงในเยอรมันลดลงถึง
75 % ในเขตอนุรักษ์ในรอบ 26 ปี ในเปอร์โต ริโก้ หายไปมากที่สุดนับตั้งแต่ 35
ปีที่ผ่านมา
หรือในอังกฤษที่เกิดวิกฤตการหายไปของผีเสื้อมากกว่าครึ่งหนึ่งในช่วงเพียงแค่ไม่ถึง
10 ปี งานวิจัย The new global review ที่กล่าวมาข้างต้นต่างต้องอ้างอิงจากศึกษาแต่ละพื้นที่แบบนี้ เพราะยังไม่การทำวิจัยเป็นระบบมากนัก
ซึ่งได้คาดเอาไว้ว่าหากเป็นอยู่อย่างนี้ ใน 100 ปี เผ่าพันธุ์แมลงอาจสุญพันธุ์ไปเกือบ
90%
สาเหตุหลักของการสูญพันธ์นั้นมาจากการทำเกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น
บวกกับภาวะโลกร้อน การขยายตัวของเมือง เมื่อดูตัวเลขการลดลงของเหล่าแมลงจะเห็นว่าจุดหักแหจะอยู่ในช่วง
1950 ที่เริ่มมีการเกษตรในลักษณะอุตสาหกรรม
George Monbiot คอลัมนิสต์ชื่อดังจาก เดอะการ์เดี้ยนเคยเขียนบทชื่อ “Insectageddon: farming is more catastrophic than climate
breakdown” ที่เขาบอกมองว่าภัยจากภาวะโลกร้อนที่เป็นประเด็นกันอยู่
นั้นไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดที่จะคุกคามมนุษย์เรา
สำหรับเขาภาวะโลกร้อนถูกจัดอยู่แค่อันดับ 3 แต่มีประเด็นที่อันตรายต่อเรามากกว่านั้นคือ
อุตสาหกรรมการประมง และสิ่งที่เรียกว่า “Insectageddon” คือการหายไปของเหล่าแมลงจากการใช้สารเคมีจำกัดแมลงนั้นเอง
“ถ้าไม่สามารถหยุดการสูญเสียสปีชี่ของแมลงได้ มันจะเป็นหายนะที่ตามมาของทั้งระบบนิเวศน์และมนุษยชาติ”
Francisco Sánchez-Bayo ผู้เขียน The new global review กล่าว ซึ่งการหายไปของแมลงจะนำมาสู่การผังทลายของระบบนิเวศน์ เพราะแมลงทำหน้าที่เหมือนกับแรงงานพื้นฐานที่สุดของระบบนิเวศน์
และยังเป็นแหล่งอาหารพื้นฐานที่สุดด้วย สัตว์ขนาดเล็กกินแมลงเป็นอาหาร สัตว์ขนาดใหญ่กินสัตว์เล็กอีกที
แมลงพวกนี้เข้าไปทำงานอย่างหนักในระบบนิเวศน์เช่นย่อยสลาย ผสมพันธุ์พืชพรรณแมลงมีมากกว่า 1 ล้านสายพันธุ์ เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเพียงประมาณ
5,400 สายพันธุ์
การหายไปของพวกมันจึงเป็นการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่รุนแรงสุดด้วย
“เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตอาหารของเรา” เป็นทางออกที่มักถูกเสนออยู่บ่อยครั้งในเรื่องนี้
เพราะสาเหตุหลักของปัญหาอย่างที่กล่าวมาก็คือ การผลิตอาหารในระบบอุตสาหกรรม ที่ต้องปลูกพืชเชิงเดี่ยวจำนวนมาก
พร้อมกับยากำจัดศัตรูพืช ผ่านการสนับสนุนอย่างเข้มข้นโดยบริษัทยากำจัดศัตรูพืชรายใหญ่ระดับโลก
ผ่านทางรัฐบาลในประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่ทำให้แมลงพวกนี้หายไป แต่ยังมีงานศึกษาที่บอกว่าหากยังมีการทำการเกษตรแบบนี้อยู่โลก
พื้นที่การเกษตรที่ทำอยู่จะไม่สามารถใช้งานได้อีกใน 60 ปีข้างหน้า
ทำให้ต้องเปิดพื้นที่ใหม่ไม่มีสิ้นสุด ในปัจจุบันก็มีพบว่าผลิตทางการเกษตรผลิตได้น้อยลงกล่าว
20% จากที่ควรจะเป็นอยู่แล้ว