ไม่แบนพาราควอต: มรดกสารเคมีที่ตกค้างให้คนรุ่นหลัง
ล่าสุด “คณะกรรมการวัตถุอันตราย” มีมติยังคงไม่ยกเลิกการใช้สารเคมีพาราควอต หลังจากเกิดกระแสทักท้วงจะหลายฝ่าย
“พาราควอต” เป็นชื่อของสารเคมีกำจัดวัชพืช
หรือยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยมากนำมาใช้สำหรับพืชไร่
เป็นสารเคมีที่ไทยนำเข้ามาเป็นอันดับ 1 มากกว่าสหรัฐอเมริกาเสียด้วยซ้ำแม้ว่าจะมีพื้นที่ประเทศที่น้อยกว่ามาก
เป็นที่นิยมจำหน่ายและใช้กันอย่างแพร่หลายในไทย ที่คนไทยคุ้นหูในชื่อการค้า “กรัมม็อกโซน”
การได้รับสารพิษชนิดนี้ทั้งโดยตรง
หรือผ่านจากการตกค้างต่างมีภัยต่อสุขภาพทั้งสิ้น
การได้รับสารโดยตรงนั้นอาจทำให้ถึงชีวิตได้ และเป็นสาเหตุของอาการพาร์กินสันหรือโรคทางปราสาทอื่นๆ
จากการรวบรวมข้อมูลของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) บอกว่าปัจจุบันในโลกประเทศที่ทำการแบนห้ามใช้พาราควอตทั้งหมด
57 ประเทศ ในยุโรปเกือบทุกประเทศ เช่น อังกฤษ เบลเยี่ยม เยอรมัน
และในเอเชียอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ 17
ประเทศที่ควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด (เช่น
ให้ใช้แทรกเตอร์ฉีดพ่นเท่านั้น หรือเฉพาะผู้ฉีดพ่นที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น)
การมีมติไม่แบนพาราควอต
ส่งผลถึงแนวโน้มที่จะยังคงใช้สารเคมีกำจักสัตว์พืชตัวอื่นๆ อย่าง คลอร์ไพริฟอส และ
ไกลโฟเซต ที่มีการผลักดันให้มีการแบนเช่นเดียวกัน
รายงานชื่อ Understanding
the Impacts of Pesticides on Children ของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ
หรือ ‘ยูนิเซฟ’ (UNICEF) ระบุเด็กนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช
เพราะเด็กก่อนอายุ 12 ขวบเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
อัตราการหายใจจะมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 2 เท่า ทั้งยังมีมวลกายที่เล็กกว่าทำให้สารเคมีส่งผลต่อสุขภาพมากกว่าผู้ใหญ่หลายเท่าตัว
การรับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเด็กได้หลัก
ๆ 4 วิธี 1.ผ่านทางแม่ที่ตั้งครรภ์ 2.จากการเล่นตามสถานที่เพาะปลูกหรือภายในที่อยู่อาศัยทีใกล้แหล่งปล่อยสาร 3.การทำงานในภาคการเกษตร และ4.จากสารตกค้างในอาหาร
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่าง
“ดีดีที” ที่ถูกแบนจากทั่วโลกมาเป็นเวลาหลายสิบปี
ปัจจุบันยังมีการพบตกค้างอยู่ในธรรมชาติ และในร่างกายมนุษย์อยู่ ในไทยมีงานวิจัยที่ชี้ว่าปัจจุบันก็ยังพบสารเคมีที่ถูกแบนไปแล้วหลายชนิดยังคงตกค้างในอาหารอยู่
สารเคมีที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันจึงเป็นเหมือนมรดกที่เราได้ฝากไว้ให้กับคนรุ่นหลัง
อย่างมีการสำรวจของมูลนิธิการศึกษาไทย
พบว่าจาการสำรวจพืชผักผลไม้ในอาหารกลางวันของเด็ก 210 ตัวอย่างจาก 34 โรงเรียนในประเทศไทย มีที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ
63 ซึ่งหนึ่งในสารเคมีที่พบบ่อยก็คือ คลอร์ไพริฟอส ที่มีงานวิจัยระบุว่า สารดังกล่าวมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
นำไปสู่การมีระดับสติปัญญาที่ต่ำจากการที่สารเข้าไปสะสมในร่างกาย
นอกจากนั้นยังมีคนการค้นพบว่านอกจากพาราควอตจะตกค้างในสัตว์น้ำในอาหารแล้ว
ยังพบมันยังตกค้างกับเด็กทารกในครรภ์มารดา และพบว่ามีเด็กอีกมากมายทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเหล่านี้โดยตรง
อย่างงานในแปลงเกษตร