คำเตือนสู่มนุษยชาติ! จดหมายฉบับใหม่จาก 15,000 นักวิทยาศาสตร์ ถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก
Waning
to Humanity คำเตือนสู่มนุษยชาติ
คือจดหมายเปิดผนึกเตือนถึงสถานะสภาพสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลาย โดยมนุษย์ เขียนขึ้นครั้งแรกในปี 1992 โดย กลุ่ม Union
of Concerned Scientists มีนักวิทยาศาสตร์ร่วมลงชื่อกว่า
1,700 คน 25 ปีต่อมาจดหมายฉบับนี้ถูกเขียนใหม่อีกครั้ง
เพื่อปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปจากปี 1992 ที่ใกล้ถึงจุดที่มนุษยชาติเดินทางมาถึงสุดปลายทางแล้ว
ด้วยพฤติกรรมของมนุษย์เราเองที่ส่งผลเสียต่อโลก จดหมายฉบับใหม่นี้มีนักวิทยาศาสตร์ลงชื่อเพิ่มขึ้นรวมแล้วมากว่า
15,000 คน จาก 184 ประเทศทั่วโลก โดยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจาก
25 ปีที่ผ่านที่เหล่านักวิทยาศาสตร์บอกกับเรามีดังนี้
-จำนวนน้ำสะอาดต่อหัวประชากรโลกลดลงร้อยละ 26
-ในมหาสมุทรมี “เขตไร้ชีพ” (Dead Zone) เขตไร้ชีพคือเขตทะเลที่สัตว์น้ำขนาดเล็กไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
เพิ่มขึ้นร้อยละ 75 เนื่องจากมีมลพิษถูกปล่อยลงสู่ทะเล
-ป่าไม้หายไป 300 ล้านเอเคอร์ จากการทำเกษตรสมัยใหม่
-การปล่อยคาร์บอนและอุณหภูมิโลก
มีตัวเลขเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-ประชากรโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 35
- สัตว์โลกสายพันธุ์ต่างๆในโลกหายไปร้อยละ 29
ในจดหมายดังกล่าวยังกล่าวอีกว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์จะต้องเผชิญกับการบริโภคทรัพยากรเกินขีดจำกัด
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากรโลก
ถ้าหากไม่การร่วมมือกันแก้ไข้อย่างจริงจังจะทำมาสู่การศูนย์เสียความหลากหลายทางชีวภาพครั้งใหญ่
นับจากปี 1992 มีเพียงเรื่องของสภาพชั้นบรรยากาศเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ซึ่งมาจากการที่หลายประเทศร่วมมือกันลดการปล่อยสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ
ผ่านการทำข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีอัล วิลเลี่ยม ริพเปิ้ล ศาสตรจารย์ด้านนิเวศวิทยา
จากมหาวิทยาลัยโอเรกอน สหรัฐอเมริกา หนึ่งในผู้ร่างจดหมาย
กล่าวว่านี้เป็นตัวอย่างที่ดีในการแสดงให้เห็นว่า เมื่อมนุษย์เราร่วมมือกันนั้นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เช่นกัน
ถึงอย่างไรปัญหาอื่น ๆ ก็ยังดำรงค์อยู่ “เราอยู่เส้นทางของหายนะ
ถ้าเราไม่ออกมาทำอะไรสักอย่าง ทุกอย่างอาจสายเกินเยี่ยวยา
เราไม่ทางรู้ว่าเรายังมีเวลาเหลืออีกเท่าไหร่ ดังนั้นเราต้องระลึกอยู่เสมอในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการออกนโยบายต่างๆ
ว่าโลกคือทั้งหมดของชีวิตและเป็นบ้านเพียงหลังเดียวที่เรามีอยู่” ส่วนหนึ่งจากจดหมายฉบับใหม่ ที่ตีพิมพ์ลงใน วารสารวิชาการ Bioscience โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ เอ็นจีโอ นักวิจัยจากทั่วโลก “จดหมายเตือนฉบับนี้ ไม่ใช่แค่การแจ้งเตือน แต่เป็นการสร้างองค์ความรู้
เกี่ยวสัญญาณที่เด่นชัดว่าเรากำลังเดินไปในเส้นทางที่แสนจะสั่นคลอน” วิลเลี่ยม ริพเปิ้ล กล่าวเกี่ยวกับจดหมายเปิดผนึก “พวกเราทุกคนที่รวมลงชื่อต่างหวังว่ามัน
จะเป็นการจุดประการให้เกิดการถกเกียงกันในประเด็นสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลกเรามากขึ้นในวงกว้าง”
-Z-
-สนับสนุนโดย-