ทำไม (หลายต่อหลายครั้ง) การพยากรณ์อากาศจึงผิดพลาด?
Sophia Tupolev-Luz หัวหน้าสำนักงาน (Chief of
Staff) แห่ง ClimaCell บริษัทด้านเทคโนโลยีการพยากรณ์อากาศชื่อดังเขียนถึงสาเหตุของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ในการใช้แอพลิเคชั่นพยากรณ์อากาศ
และถ้อยแถลงจาก ดร.อุตตม สาวนายน อดีต รมว.ไอซีที ต่อความผิดพลาดในการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ก็มีให้เห็นอยู่หลายครั้ง
1.
เหตุผลที่การพยากรณ์อากาศเกิดความผิดพลาด ไม่ต้องไปต่อว่าผู้ประกาศข่าวหรอก! (โดย Sophia Tupolev-Luz)
เหตุผลที่การพยากรณ์อากาศเกิดความผิดพลาด ไม่ต้องไปต่อว่าผู้ประกาศข่าวหรอก! (โดย Sophia Tupolev-Luz)
สภาพภูมิอากาศสามารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำหรือไม่? พวกเราในฐานะผู้บริโภค
หลายท่านอาจวางใจในแอพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ทโฟน
วิทยุ หรือโทรทัศน์ เพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับการคาดเดาสภาพภูมิอากาศประจำวัน
เพียงแค่แอพสโตร์ของแอปเปิลเจ้าเดียวก็พบมีแอพลิเคชั่นเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศให้ดาวน์โหลดรวมกันเกินกว่า
6,000 แอพฯ แล้ว
และต่อไปนี้คือเหตุผลว่าทำไมการพยากรณ์อากาศจึงผิดพลาด
เหตุผลที่แอพฯพยากรณ์อากาศผิดพลาด แม้ว่าจะใช้ข้อมูลจากแหล่งเดียวกัน
แต่ผลการพยากรณ์มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ทุกนาที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเรา ‘ปิด’ แอพลิเคชั่น
และ ‘เปิด’ ใหม่อีกครั้ง และถึงแม้ว่าเราเปิดแอพฯเดียวกัน
แต่ใช้สมาร์ทโฟนคนละเครื่อง แอพฯ มันสามารถแสดงผลการพยากรณ์ที่แตกต่างกันในเวลาเดียวกัน
นั่นนำไปสู่ความเข้าใจว่าแอพฯ ต่าง ๆ พยากรณ์ไม่เหมือนกัน
สาเหตุที่คำพยากรณ์ผิดพลาด ไม่ว่าคำพยากรณ์จะถูกสร้างโดยนักอุตุนิยมวิทยาหรือระบบอัตโนมัติก็ตาม
แหล่งของข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้คิดคำนวณเพื่อสร้างคำพยากรณ์
ก็แทบจะใช้ข้อมูลเดียวกันอยู่เสมอ ๆ
และข้อมูลของสภาพอากาศจากแหล่งเดียวกันนั้นมีโอกาสถูกประมวลผลคนละรูปแบบกัน
ขึ้นอยู่กับแอพลิเคชั่น หรือโมเดลสำหรับคิดคำนวณเพื่อสร้างคำพยากรณ์ (forecasting models)
การตรวจวัดสภาพอากาศที่สนามบิน ณ สถานีตรวจวัดอากาศ (weather station) โดยปกติแล้วจะไม่ค่อยมีประโยชน์สำหรับผู้อาศัยอยู่ที่ตัวเมือง
เพราะอุณหภูมิที่ตัวเมืองมักจะสูงกว่า จึงทำให้คำพยากรณ์ผิดเพี้ยน ส่วนคำพยากรณ์ที่บอกว่าฝนจะตกหนัก
ซึ่งเมื่อฝนตกจริงก็ไม่หนักตามคำพยากรณ์
เพราะผู้ประกอบอาชีพนี้จำเป็นต้องป้องกันตัวเองหรือ play safe ไว้ก่อน ดีกว่าปล่อยให้ฝนตกหนักกว่าที่พยากรณ์
เพราะจะนำไปสู่ปัญหาด้านอาชีพการงาน
การพยากรณ์อย่างเฉพาะเจาะจงตามแต่ละพื้นที่หรือ hyper-local เช่นที่สหรัฐอเมริกามีระบบพยากรณ์อากาศตามแต่ละเขตพื้นที่รหัสไปรษณีย์
แต่ก็ยังพบว่าในแต่ละพื้นที่รหัสไปรษณีย์หนึ่ง ๆ
ก็ไม่ได้มีสภาพอากาศเพียงรูปแบบเดียว ทำให้สถานีตรวจวัดสภาพภูมิอากาศขนาดเล็กประจำครัวเรือนแบบที่ชาวตะวันตกใช้ติดไว้หลังบ้าน
(backyard weather station) เป็นทางเลือกสำหรับการรับรู้สภาพอากาศส่วนบุคคลที่ถือว่าดีมาก
แต่หากขาดการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง ก็ทำให้พยากรณ์ผิดเพี้ยนอย่างมากได้
มันไม่ใช่ ‘เวลาจริง’ หรือ real-time
หรอก! แม้ว่าจะใช้ดาวเทียมหรือเรดาร์ ก็ยังไม่มีใครสามารถได้รับข้อมูลใหม่ล่าสุดทุกนาที
เนื่องด้วยข้อจำกัดทางเทคนิค นั่นเป็นเหตุให้คำว่า “เวลาจริง” หรือ “real-time”
เป็นเพียงการคาดคะเนด้วยข้อมูลที่เป็นอดีตไปแล้ว
2.
ความผิดพลาดในการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
ความผิดพลาดในการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
ดร.อุตตม สาวนายน อดีต รมว.ไอซีที ของไทยก็ได้เคยชี้แจงใน เฟสบุ๊คส่วนตัว ไว้ว่าอาจมีหลายครั้งที่การพยากรณ์อากาศไม่ตรงกับทางกรมอุตุได้ออกมาแจ้งเหตุผลที่การพยากรณ์อากาศของไทยบางครั้งยังไม่แม่นยำนั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญ
3 ข้อที่ทำให้เกิดความผิดพลาดคือ
1. ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางอุตุนิยมวิทยาของเรายังไม่สมบูรณ์พอ
2. บรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดและสถานีตรวจอากาศของเรามีจำนวนน้อยและอยู่ห่างกัน
การตรวจจึงทำได้บางเวลา จึงทำให้ไม่ทราบสภาวะที่แท้จริงของสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น
3. หากเกิดปรากฏการณ์มีขนาดเล็กหรือเกิดในระยะสั้น ๆ และตรวจไม่พบจากการตรวจอากาศ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพอากาศเป็นอย่างมาก
จึงเป็นสาเหตุให้เกิดผลพยากรณ์ที่ผิดพลาดเกิดขึ้น
ดังนั้นการพยากรณ์อากาศที่สั้นจะมีความถูกต้องมากกว่าการพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่นานกว่า
และเขตร้อนของไทยเราจะพยากรณ์ยากกว่าเขตอบอุ่นและเขตหนาว โดยมีเหตุผลสั้น ๆ 3 ประการคือ (1) ความรู้และการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาเขตร้อนมีน้อยกว่าและยังไม่ก้าวหน้าทัดเทียมกับอุตุนิยมวิทยาในเขตละติจูดสูง
(2) สถานีตรวจอากาศมีจำนวนน้อยกว่าเขตอบอุ่นและเขตหนาว และ (3) อากาศในบริเวณละติจูดสูงส่วนมากนั้นเป็นระบบขนาดใหญ่ที่มวลอากาศสามารถตรวจพบได้ง่าย
และระบบลมฝนอากาศโซนเขตร้อนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กเพราะว่าไม่ได้เกิดจากความแตกต่างของมวลอากาศ
เช่น ฝนตกบริเวณแคบ ๆ
ดังนั้นเรื่องของการพยากรณ์อากาศจึงอาศัยด้วยหลากหลายปัจจัยเข้าด้วยกันจึงจะได้ค่าที่เที่ยงตรง
-Z-
กองบรรณาธิการ เรียบเรียงจาก How
and Why Weather Forecasts Miss the Mark But don’t blame your weather reporter!
(Sophia Tupolev-Luz, climacell.co, 12/6/2017) และ เฟสบุ๊คส่วนตัวของ
ดร.อุตตม สาวนายน (11/11/2015)