‘กองเรือ: โรงเรียน-ห้องสมุด-คลินิก’ เพื่อ 'ผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว' ใน 'บังกลาเทศ'
‘Climates Change
Refugee’ หรือว่า ‘ผู้ลี้ภัยจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว’ เป็นคำที่ถูกบัญญัติขึ้นเมื่อไม่นานนี้เอง ข้อมูลจากกลุ่มที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ
DARA ระบุว่ามีคนกว่า 5
ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตในปี 2010 ทั้งนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ
‘ภาวะโลกร้อน’ ที่เราคุ้นชิน เพิ่มขึ้นทุกปี
และจำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ใน 10
ประเทศยากจน ซึ่ง ‘บังกลาเทศ’ เป็นหนึ่งในประเทศเหล่านี้
บังกลาเทศ ต้องเจอกับน้ำท่วมแทบจะทุกปีในช่วงฤดูมรสุม
มีปริมาณน้ำฝนหนาแน่นเป็นอันดับต้นของโลก ภูมิประเทศของบังกลาเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ลุ่มต่ำ
ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียหรือที่เรียกว่า
พายุไซโคลนอยู่เป็นประจำ
ขณะเดียวกันดินแดนแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยแม่น้ำน้อยใหญ่มากถึง 230 สาย การเจอน้ำท่วมซ้ำซากจึงถือเป็นเรื่องปกติ
โดยเฉพาะผู้คนบริเวณปากอ่าวเบงกอล
แต่ไม่ใช่กับน้ำท่วมที่กลืนผืนดินและบ้านเรือนไปอย่างถาวร พวกเขาจึงต้องปรับตัวและเรียนรู้ที่ต้องอยู่ร่วมกับน้ำ
บังกลาเทศมีความหนาแน่นของประชากรในชนบทสูงที่สุดในโลก ความหนาแน่นของประชากร 1,174 คนต่อตารางกิโลเมตร
แรงกดดันที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินนี้ล้นเหลือเกินที่จะทำให้ทางเลือกน้อยสำหรับกลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุด
แต่จะย้ายไปยังพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถเข้าถึงได้เพื่อให้สามารถตั้งถิ่นฐานได้
ด้วยเห็นความสำคัญของการศึกษาของเยาวชนของชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลบังกลาเทศจึงมีมติจัดตั้งองค์กร Shidhulai
Swanirvar Sangstha ไม่แสวงผลกำไร ขึ้นในปี 2002 เพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ Shidhulai ดำเนินการกองเรือ
โรงเรียน, ห้องสมุด, คลินิกสุขภาพ และศูนย์ฝึกอบรมลอยน้ำที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไร้สายจำนวน
54 ลำ ให้ประชาชน 97,000 คน ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมสามารถเข้าถึงได้
ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน
การศึกษา รวมไปถึงการทำฟาร์มเกษตรกรอย่างยั่งยืนและมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้การใช้พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์และการสื่อสารภายนอก
วัสดุของโครงการที่สร้างเรือเคลื่อนที่
ดัดแปลงมาจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้จากท้องถิ่น
เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันหรือเกิดพายุ เรือพวกนี้จะทำหน้าที่เคลื่อนย้ายไปให้บริการในพื้นที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที
ชาวบังกลาเทศมีผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาจากรัฐบาลถึง 40% และไม่มีที่ดินกว่า 31.5% จากประชากรทั้งหมด
และมีแนวโน้มที่คนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศจนนำไปสู่การเกิดพายุและปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นจนไปถึงน้ำทะเลหนุน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะ
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศนี้ 100,000 คน ในปี 2010 และอีก 55 ล้านคน ได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิต
ซึ่งถือว่าค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ 148.7 ล้านคน ส่วนต้นทุนความเสียหายคิดเป็น 3.7% ของ GDP
รายงานของ DARA ประเมินว่า ในปี 2030 ผู้เสียชีวิตในบังกลาเทศจากภาวะโลกร้อนจะเพิ่มเป็น
150,000 คน และมีประชาชนอีก 70 ล้านคน
ที่ได้รับผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
โดยเฉพาะเรื่องความอดอยากจากความไม่มั่นคงทางอาหารที่เพิ่มขึ้นเพราะสภาพอากาศที่เลวร้าย
โดยในอีก 18 ปีข้างหน้า น่าจะมีประชาชนเสียชีวิตจากความหิวโหย
15,000 คน และกระทบผู้คนเป็นราว 15
ล้านคน
-Z-
โดย Donlawat Sunsuk ข้อมูลประกอบการเขียน http://www.shidhulai.org/ ,
http://www.creativemove.com/architecture/floating-school-bangladesh/ ,
http://daraint.org/climate-vulnerability-monitor/climate-vulnerability-monitor-2012/
Ads