ออกจากกรุงเทพกันเถอะ ถ้าแผ่นดินจะทรุดขนาดนี้!
รู้ไหมว่า 'กรุงเทพ-ปริมณฑล' แผ่นดินทรุดตัวมากกว่าปีละ 2 เซนติเมตร
และในบางพื้นที่ตั้งแต่ปี 2521-2551 มีระดับการทรุดตัวสะสมมากกว่า 1 เมตร เลยทีเดียว!
กรุงเทพและปริมณฑลตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม
ซึ่งมีชั้นดินเหนียวที่อ่อนและหนาปกคลุม แทรกสลับกับชั้นน้ำบาดาล
จึงมีการทรุดตัวของพื้นดินตามปัจจัยภายใน
คือการอัดตัวของดินอ่อนซึ่งเกิดตามธรรมชาติและปัจจัยภายนอก อันได้แก่
การใช้น้ำบาลดาล การรับน้ำหนักจากสิ่งก่อสร้าง
และการสั่นสะเทือนจากการจราจร เป็นต้น
ซึ่งปัญหาแผ่นดินทรุดตัวถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ
และมีหลายหน่วยงานทำการสำรวจมาตั้งแต่ในอดีต
กรมแผนที่ทหาร
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ในอดีต) กรมทรัพยากรธรณี
(ปัจจุบันคือกรมทรัพยากรน้ำบาดาล) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT:
Asian Institute of Technology) เคยได้ทำการสำรวจในระหว่างปี 2521-2524 การสำรวจครั้งแรกนั้นพบว่ามีการทรุดตัวมากกว่าปีละ 10 เซนติเมตร จากนั้นได้มีการสำรวจอีกครั้งในปี 2527 ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจที่นำโดยกรมแผนที่ทหารนี้นั้น เมื่อพิจารณาในภาพกว้างพบว่าพื้นที่ในเขตบางเขน
บึงกุ่ม บางกะปิ ประเวศ สมุทรปราการ ช่วงตลอดระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี 2521-2551 มีระดับการทรุดตัวสะสมมากกว่า 1 เมตร แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา การทรุดตัวค่อย ๆ
ลดลงและมีความเสถียรโดยมีการทรุดตัวสะสมประมาณปีละ 2-3 เซนติเมตร ซึ่งเป็นผลจากการควบคุมการใช้น้ำบาดาลให้น้อยลง
แต่กระนั้นก็ยังพบพื้นที่ที่มีอัตราการทรุดตัวมากกว่า 2 เซนติเมตรต่อปี ได้แก่ บริเวณมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด), บริเวณอำเภอเมืองสมุทรสาคร และบริเวณศาลากลางจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น
'สูบน้ำบาดาล' ปัจจัยหลักทำ 'กรุงเทพทรุด'
กรุงเทพและปริมณฑลเริ่มใช้น้ำบาดาลอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2496 ทั้งด้านการอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม
เนื่องจากน้ำบาดาลมีต้นทุนต่ำทำให้มีการใช้ในปริมาณมาก
เกินสมดุลตามธรรมชาติมาเป็นเวลานาน ทำให้หลายพื้นที่เกิดวิกฤต
น้ำบาดาลมีปริมาณน้อยและแรงดันต่ำจนเกิดผลกระทบด้านแผ่นดินทรุด
อย่างในช่วงปี 2521-2525 มีการสูบน้ำบาดาลในปริมาณมหาศาล เนื่องจากระบบน้ำประปาผิวดิน
ไม่สามารถขยายพื้นที่ให้บริการได้ทันอัตราการเติบโตของเมืองและอุตสาหกรรม
ส่งผลให้เกิดแผ่นดินทรุดในอัตราที่สูงถึง 10 มิลเมตรต่อปี
ซึ่งผลจากการติดตามระดับการทรุดตัวของดินโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและกรมแผนที่ทหาร
พบว่าการทรุดตัวของดินเกิดจากสาเหตุหลักคือการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เกินกว่าค่าทดแทนโดยสภาพธรรมชาติ
ทำให้สูญเสียแรงดันของน้ำใต้ดิน
ผลจากการทรุดตัวที่ปรากฏเด่นชัดควบคู่กับระดับน้ำบาดาลที่ลดลงต่ำเร็วมากก็คือ
พื้นที่รามคำแหงและบางกะปิ ที่มีการทรุดตัวสะสมมากถึง 108 เซนติเมตร ในช่วงปี 2521-2550 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีอัตราการใช้น้ำบาดาลที่สูงมากจากการเติบโตและขยายความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้การทรุดตัวได้กระจายตัวตามทิศทางของการขยายตัวของเศรษฐกิจและเมืองที่มีความต้องการใช้น้ำประปา
แต่การขยายตัวของระบบน้ำประปาผิวดินยังไม่สามารถรองรับได้อย่างทั่วถึงทำให้ต้องใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก
พบว่าการสูบน้ำบาดาลจะสอดคล้องกับบริเวณที่มีความหนาแน่นของประชากร เช่น
บริเวณหมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น
ปัจจุบันข้อมูลจากสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลระบุว่าพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 7 จังหวัด
เป็นเขตที่ที่มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล
ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน, การแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล, การลดตัวลงของระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาลและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
จึงต้องมีการควบคุมปริมาณการใช้น้ำบาดาล ซึ่งปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ในการควบคุมทั้ง 7 จังหวัดต้องไม่เกิน 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
โดยกำหนดปริมาณรายจังหวัดดังนี้
* ข้อมูลการใช้น้ำบาดาล
อ้างอิงจากโครงการสำรวจสถานภาพบ่อน้ำบาดาล
ศึกษากำหนดเครือข่ายบ่อสังเกตการณ์และประเมินการใช้น้ำบาดาลเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศปี 2552 โดยประเมินการใช้น้ำบาดาลของประปาหมู่บ้าน/เทศบาล และบ่อน้ำตื้น ร้อยละ 50 ของข้อมูลโครงการฯ เนื่องจากปัจจุบันมีการอดกลบบ่อเป็นจำนวนมาก
** ข้อมูลบ่อน้ำบาดาลเอกชน
ใช้ข้อมูลปริมาณน้ำ การใช้น้ำจริง ณ ธันวาคม 2557 โดยข้อมูลบ่อน้ำเอกชน
ประเภทอุปโภค-บริโภค และเกษตรกรรม ที่ไม่เก็บค่าใช้น้ำบาดาล
ทำการประเมินน้ำใช้จริงร้อยละ 50 ของปริมาณน้ำตามใบอนุญาต
จากมาตรการที่ผ่านมาทำให้บางพื้นที่เริ่มเกิดการคืนตัวของชั้นดินระดับลึกเนื่องจากการเพิ่มตัวของระดับน้ำใต้ดิน
แต่การทรุดตัวที่ผิวดินยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในหลายพื้นที่
เนื่องจากการยุบอัดตัวของดินชั้นตื้นมีค่ามากกว่าการคืนตัวของดินชั้นล่าง และในอนาคตหากการเติบโตของเมืองและภาคอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลโดยที่ระบบน้ำประปามีจำกัด
ไม่ทั่วถึง รวมทั้งปริมาณน้ำดิบจากแหล่งธรรมชาติอื่น ๆ ไม่เพียงพอ
ก็อาจจะมีการใช้น้ำบาดาลเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยมีการประเมินว่าในปี 2570 อัตราการสูบน้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลจะเพิ่มเป็น 1,386,411 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ซึ่งจะทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินยังมีต่อไปเฉลี่ยที่อย่างน้อย 1.07 เซนติเมตรต่อปีเลยทีเดียว
จากข้อมูลที่ได้นำเสนอมา
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหาที่พักอาศัยใหม่ในต่างจังหวัด เพราะดูท่าทีกรุงเทพของเรายังคงจะทรุดตัวลงไปเรื่อย
ๆ
-Z-
กองบรรณาธิการ Z-World เรียบเรียงบางส่วนมาจาก กทม.-ปริมณฑลทรุดต่อเนื่องปี 2-3ซม. ใช้ ‘น้ำบาดาล’ ทำบางที่สะสมเป็นเมตร
[ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ),
9/8/2558]