เราสามารถรอดชีวิตได้หรือไม่? หากเกิด ‘สงครามนิวเคลียร์’
สำหรับ ‘สงครามนิวเคลียร์’ มีเพียงการคาดการณ์เท่านั้น
บางคนบอกว่ามันจะเกิดขึ้น บางคนก็บอกว่าจะไม่เกิด แต่ที่แน่ ๆ เราพึงตระหนักไว้ว่าอาวุธนิวเคลียร์ที่ทันสมัยมีอยู่จำนวนมากในปัจจุบันนั้น
มีอานุภาพมากกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในปี 1945
นับพันเท่า เราอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่ออาวุธเหล่านี้หลายพันลูกถูกจุดชนวนในห้วงเวลาเดียวกัน
สำหรับผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่อันเต็มไปด้วยประชากร
อาจดูเหมือนเป็นความพยายามที่ไร้ประโยชน์อย่างสิ้นเชิง ถ้าจะมีชีวิตรอดก็จะต้องเป็นผู้ที่เตรียมพร้อมและรู้เส้นทางสำหรับเอาตัวรอด
และย้ายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในช่วงเวลาเช่นนั้น
จงวางแผน
หากมีการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
มันเป็นเรื่องอันตรายที่คุณจะออกไปข้างนอกเพื่อหาอาหาร
คุณควรอยู่ในที่ซึ่งลมไม่สามารถพัดเข้ามาได้อย่างน้อย 48 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้นได้ยิ่งดี
การเตรียมอาหารและเวชภัณฑ์ไว้แล้วจะช่วยลดความวิตกกังวล
และจะช่วยให้คุณมีสมาธิสำหรับการหาทางเอาตัวรอด
สะสมอาหาร
ต้องเป็นแบบที่ไม่บูดเน่าที่สามารถคงสภาพได้หลายปี
ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่คุณสะสมไว้แล้วหรือที่คุณได้รับการช่วยเหลือหลังจากมีการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
เลือกอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเข้าไว้ คุณจะได้มีพลังงานมาก และเก็บอาหารไว้ในที่เย็นและแห้ง
อาหารที่แนะนำ เช่น ข้าวสีขาว ข้าวสาลี ถั่ว น้ำตาล น้ำผึ้ง ข้าวโอ้ต พาสต้า นมผง
ผลไม้แห้ง ผัก และหากสามารถไปที่ร้านค้าได้ คุณควรได้อาหารมาเกินกว่าที่ต้องการ 1-2 รายการ ทางที่ดีควรสะสมอาหารไว้สำหรับหลายเดือน
แล้วอย่าลืมเช็คด้วยว่าคุณมีที่เปิดกระป๋องสำหรับอาหารกระป๋อง
กักตุนน้ำไว้
พึงเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกประเภทที่ดื่มกินแล้วไม่เป็นอันตราย
(food-grade)
ในห้วงเวลาเช่นนั้น ควรทำความสะอาดภาชนะด้วยสารฟอกขาว (bleach) แล้วเติมด้วยน้ำที่กรองและกลั่นแล้ว
ควรมีน้ำในปริมาณที่เพียงพอสำหรับทุกคนในแต่ละวัน
สำหรับการทำให้น้ำสะอาดเมื่อเกิดการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
คุณต้องมีสารฟอกขาวและโพแทสเซียมไอโอไดด์ (potassium iodide)
เตรียมอุปกรณ์สื่อสาร
เตรียมอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา
ตลอดจนสามารถแจ้งเตือนผู้อื่นสำหรับตำแหน่งของคุณ และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
หากคุณมีสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ วิทยุ: คุณควรมีเครื่องปั่นไฟแบบที่มีเพียงมือของคุณก็ใช้งานได้ หรือไม่ก็ พยายามหาแบบที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ถ้าเป็นแบบที่ใช้แบตเตอรี่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบตเตอรี่อยู่กับตัวคุณ เพื่อให้คุณไม่พลาดข่าวสารสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน นกหวีด: สำหรับส่งสัญญาณระยะไกล และ โทรศัพท์มือถือ: ถ้าเป็นไปได้คุณควรหาเครื่องชาร์จพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
ตระเตรียมเวชภัณฑ์ไว้ให้พร้อม
การมีไว้เพียงไม่กี่ชิ้นอาจเป็นความแตกต่างระหว่างชีวิตกับความตาย ถ้าคุณได้รับบาดเจ็บจากการถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
คุณจำเป็นต้องมี ชุดปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน: คุณต้องใช้ผ้าพันแผลที่ปราศจากเชื้อ ยาครีมปฏิชีวนะ, ถุงมือยาง, กรรไกร, แหนบ, เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย
และผ้าห่ม คู่มือการปฐมพยาบาล: คุณควรรู้วิธีการพันแผล, วิธีปั้มหัวใจที่ถูกต้อง, รักษาอาการช็อค และรักษาแผลไฟไหม้ และ ยาหรือเวชภัณฑ์ตามใบสั่งแพทย์: ถ้าคุณใช้ยาเฉพาะทางทุกวัน
พยายามดูให้แน่ใจว่าคุณทราบแหล่งรับยาในยามฉุกเฉิน
เตรียมชุดอุปกรณ์กรณีฉุกเฉิน
เตรียมชุดอุปกรณ์สำหรับกรณีฉุกเฉิน ดังนี้ (1) ไฟฉายและแบตเตอรี่ (2) หน้ากากอนามัย (3) แผ่นพลาสติกสำหรับห่อหุ้มและเทปกาวแบบมือดึงแล้วขาดได้ง่าย (4) ถุงขยะ เชือกพลาสติกแบบมีที่ล็อค และผ้าเช็ดทำความสะอาดแบบเปียกสำหรับสุขาภิบาลส่วนบุคคล
(5) ประแจและคีมเพื่อปิดระบบสาธารณูปโภค เช่น แก๊สและน้ำ เป็นต้น
ประเมินความเสี่ยงและวางแผนอย่างเหมาะสม
ควรอยู่ห่างจากสถานที่ที่จะเป็นเป้าหมายของการโจมตีหากเกิดสงครามนิวเคลียร์ - ฐานทัพอากาศ, ฐานทัพเรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากที่นั่นมีอาวุธนิวเคลียร์, เรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธ (ballistic missile submarines), ฐานยิงขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM silo) - ท่าเรือพาณิชย์, รันเวย์เครื่องบิน ที่ยาวกว่า 1 หมื่นฟุต (3,048 เมตร) - สถานที่ของรัฐบาล - เมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และพื้นที่ที่ผู้คนมักจะกระจุกตัวกัน
-Z-
โดย Tanandawn Chompusi เรียบเรียงบางส่วนมาจาก How to Survive a Nuclear Attack [wikihow.com, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 29/8/2017]
Ads